หมวด : ASIA / 22-03-2009 Views: 9,073

อินโดนีเซีย



ข้อมูลเบื้องต้น : กรุงจากาตาร์
ที่ตั้ง อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 17,508 เกาะ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พื้นที่ พื้นที่สำคัญแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ หมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะโมลุกะ (หมู่เกาะเครื่องเทศ) และอิเรียนจายา (ปาปัวนิกีนีตะวันตก)
ภูมิประเทศ เป็นป่าฝนเขตร้อน สภาพอากาศร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ระหว่าง 75-95% ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 706 มิลลิเมตร
ประชากร อินโดนีเซียมีพลเมืองประมาณ 207.7 ล้านคน (2542) คาดว่าจะเพิ่มเป็น 210 ล้านคนเมื่อสิ้นปี 2543 นับว่ามีพลเมืองมากเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากจีน อินเดียและสหรัฐอเมริกา มีชนกลุ่มน้อยกว่า 500 เผ่า โดยมีภาษาพื้นเมืองมากกว่า 538 ภาษา
ศาสนา ประชากรร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสเตียน ร้อยละ 10 และศาสนาอื่นอีกร้อยละ 3 อาทิ พุทธ ฮินดู ฯลฯ
เมืองหลวง จาการ์ต้า (Jakarta)
ภาษา ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติอินโดนีเซีย
สกุลเงิน รูเปีย (Rupiah)

อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นเมืองภายใต้อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2488 จึงกำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันชาติอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีดินภูเขาไฟ เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะบนเกาะชวามีการปลูกพืชที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ชา กาแฟ อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง เครื่องเทศ ส่วนพืชสำคัญที่ปลูกบนเกาะสุมาตราได้แก่ ยางพารา ยาสูบ ชา กาแฟ ปาล์ม มะพร้าว พริกไทย อ้อย ฯลฯ

นอกจากนั้น อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 60 ของประเทศและมีทรัพยากรสัตว์น้ำจำนวนมาก

อินโดนีเซียยังอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ดีบุก ถ่านหิน บ๊อกไซด์ นิเกิล เหล็ก ฟอสเฟต ทองแดง ฯลฯ

การเมือง การปกครอง

อินโดนีเซียปกครองในระบอบสาธารณรัฐ (Republic) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งครั้งละ 5 ปี และสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ติดต่อกันไม่เกิน 2 สมัยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายซูซิโล มัมบัง ยุดโดโยโน (Susilo Bambang Youdhoyono) ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2547 เป็นต้นมา

รัฐธรรมนูญอินโดนีเซีย ปี 2488 เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศโดยใช้หลักปัญจศีลในการปกครองประเทศ ได้แก่

นับถือพระเจ้าองค์เดียว
เป็นมนุษย์ที่เจริญและคงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม
ความเป็นเอกภาพของอินโดนีเซีย
ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
ให้ความยุติธรรมแก่สังคมชาวอินโดนีเซียทั้งมวล
อินโดนีเซียแบ่งการปกครองเป็น 33 จังหวัด โดยมีการปกครองลักษณะพิเศษ 2 จังหวัด ได้แก่ กรุงจาการ์ตาและเมืองยอร์กจาร์การ์ตา และมีการปกครองแบบเขตปกครองพิเศษ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอาเจะและจังหวัดปาปัว

การศึกษาและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยของรัฐมี 49 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชนมีกว่า 950 แห่ง มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดคือ University of Indonesia (UI) มีนักศึกษาในปี 2542 เก่า 32,000 คน

อินโดนีเซียมีชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ กว่า 500 เผ่า จึงมีความหลากหลายด้านภาษา วิถีชีวิต การแต่งกาย วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณี ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีความสามัคคีกันในระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ให้อยู่รวมกันอย่างสันติบนพื้นฐานหลักการ บินกินา ตุงกัล อิกา หรือ Unity in Diversity หรือความเป็นเอกภาพในความหลากหลาย

เมืองสำคัญ
กรุงจาการ์ตา (Jakarta)
เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย ประชากรประมาณ 10 ล้านคน

เมืองสุราบายา (Surabaya)
เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ประชากร 2.5 ล้านคน

เมืองบันดุง (Bandung)
เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 อยู่ห่างจากกรุงจาการ์ต้า ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 200 กิโลเมตร ประชากร 2.3 ล้านคน

เมืองเมดาน (Medan)
อยู่บนเกาะสุมาตราตอนเหนือ เป็นเมืองที่อยู่ในกรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย เป็นศูนย์กลางการค้าและท่าเรือสินค้า ประชากร 2 ล้านคน

ข้อแนะนำในการเดินทางไปอินโดนีเซีย

หนังสือเดินทางไทยต้องอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน มิฉะนั้นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซียอาจปฏิเสธการเข้าเมือง
หนังสือเดินทางไทยหากไม่ทำวีซ่าเพื่อเข้าอินโดนีเซีย อาจพำนักอยู่ได้ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งหากอยู่เกินกำหนดจะถูกปรับวันละ 25 ดอลลาร์สหรัฐ
สิ่งของผิดกฎหมาย อาทิ ยาเสพติด อาวุธปืน หนังสือโป๊ ห้ามนำเข้าประเทศเพราะกฎหมายอินโดนีเซียกำหนดโทษหนัก โดยเฉพาะการครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
ธนบัตรดอลลาร์สหรัฐที่ไม่รับแลกในอินโดนีเซีย : series A,B,C,CD,DB,DH และ series ปี ค.ศ. 1996 ทั้งหมดทั้งนี้ ธนบัตรต้องไม่มีรอยขีดเขียน รอยยับ พับและรอยเย็บกระดาษ มิฉะนั้น จะไม่สามารถแลกเป็นเงินท้องถิ่นได้หรือแลกได้ใน
อัตราต่ำกว่าปกติ
ข้อควรระวัง

อาชญากรรมเกิดขึ้นเป็นประจำ อาทิ ลักทรัพย์ วิ่งราว ชิงทรัพย์ จึงขอให้ผู้เดินทางระมัดระวังทรัพย์สินที่นำติดตัวไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเก็บรักษาหนังสือเดินทางไว้ให้ดี เพราะมีคนไทยถูกฉกชิงวิ่งราว ดังนั้น จึงควรแยกเก็บหนังสือเดินทางและบัตรโดยสารเครื่องบินไว้ต่างหาก

ผู้ที่เดินทางไปทำงานหรือพำนักในกรุงจาการ์ตาระยะยาวควรไปรายงานตัวที่สถานเอกอัครราชทูต


ข้อควรกระทำ

ตรวจสอบอายุหนังสือเดินทางและวีซ่า หนังสือเดินทางต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน การเข้าอินโดนีเซียโดยไม่มีวีซ่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 30 วัน การอยู่เกินกำหนดมีบทลงโทษหนักทั้งจำทั้งปรับ
ตั้งเวลาให้ถูกต้องกับเวลาท้องถิ่น เพราะอินโดนีเซียมี 3 เขตเวลา คือ เขตตะวันตก (เกาะสุมาตรา ชวา กาลิมันตันตะวันตก) ตรงกับเวลาประเทศไทย เขตกลาง (กาลิมันตันตะวันออก สุลาเวสี บาหลี) เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชม. เขตตะวันตก (มาลูกุและปาปัว) เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชม.
ข้อไม่ควรกระทำ

ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ หรือรับประทานอาหาร คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซีย รวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต นอกจากนั้น ยังมีบทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการชุมนุมประท้วง เพราะอาจขยายตัวเป็นการจลาจลได้
หน่วยงานในอินโดนีเซียที่ควรทราบ
ตำรวจนครบาล (POLDA)
Foreign Affairs Office ( 24 hours)
โทรศัพท์ 021-523 4202, 523 4064
Tourism Affairs (24 hours)
โทรศัพท์ 021-523 4104
โรงพยาบาล
SOS Medika, JI. Puri Sakti No.10,Cipete (24 hours)
โทรศัพท์ 021-750 6001
Medistra, JI. Jend. Gatot Subroto No.59 ( 24 hours)
โทรศัพท์ 021-521 0200
MMC, JI. H.R.Rasuna Said Kav.C-21 ( 24 hours)
โทรศัพท์ 021-527 3473
รถแท็กซี่ Blue Bird/ Silver Bird (24 hours)
โทรศัพท์ 021-794 1234, 798 1000
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองเดนปาซาร์
JI. Puputan Raya No.81, Redon, Denpasar, Bali
โทรศัพท์ 0361-263 310,HP Emergency 0816 472 4466
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองเมดาน
JI. Cut Meutia No.6, Medan, North Sumatera
โทรศัพท์ 061-415 2425
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองสุราบายา
JI. Tanjung Perak Timur No.52-B, Surabaya 60164
โทรศัพท์ 031-357 8001-4, 357 8401

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา
(Royal Thai Embassy)
74,Jalan Imam Bonjol Jakarta Pusat 10310
โทรศัพท์ (62-21) 390-4052 , (62-21) 314-3022 ,
(62-21) 314-7925
โทรสาร (62-21) 310-7469
E-mail : thaijkt@indo.net.id

กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ






ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง
แอร์แคนาดาประกาศแผนเปิดตัว Wi-Fi ที่ความเร็วสูง โดยได้รับการสนับสนุนจากเบลล์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2025 บริการฟรีนี้จะให้บริการแก่สมาชิก ...
สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์และแอร์เซเชลส์ได้ลงนามในข้อตกลงการใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ซึ่งทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางได้อย่างราบรื่นด้วยการจองเพียงครั้งเดียวระหว่างจุดหมายปลายทางทั้งหมดของสายการบินเอทิฮัดและมาเฮ ...
สายการบิน China Airlines (CI) ประกาศแผนการปรับปรุงฝูงบิน Airbus A350 โดยได้ลงนามข้อตกลงกับแอร์บัส เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องบิน ...
Korean Air ได้รับการยกย่องจากทั่วโลก โดยได้รับรางวัลสูงสุดจากการสำรวจ GT Tested ประจำปี 2024 ของ Global Traveler สายการบินได้รับรางวัลบริการบนเครื่องยอดเยี่ยม ...
สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ (EY) และสายการบินแอร์อัสตานา (KC) ได้ประกาศความร่วมมือด้านรหัสเที่ยวบินร่วมกันแบบทวิภาคีใหม่ ข้อตกลงดังกล่าวซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ...



visa