ข้อมูลเบื้องต้น : กรุงเตหะราน ชื่อทางการ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ที่ตั้ง ภูมิภาคตะวันออกกลาง พื้นที่ 1,648,000 ตร.กม.หรือใหญ่กว่าประเทศไทย 2 เท่า ประชากร 62 ล้านคน เชื้อสายเปอร์เซียน หรืออิหร่าน 70% เมืองหลวง กรุงเตหะราน มีพลเมือง 10 ล้านคน การปกครอง มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยเป็นผู้นำทางศาสนาด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ (สภาที่ปรึกษาอิสลาม) ประกอบด้วยสมาชิก 270 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี ภาษา ฟาร์ซี (Farsi) คือภาษาราชการ การใช้ภาษาอังกฤษมีข้อจำกัดมาก หากไม่ใช่ทางราชการหรือธุรกิจ ศาสนา 90% นับถือศาสนาอิสลาม (นิกายชีอะห์) สกุลเงิน เรียล (Rial) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 9,000 เรียล ภูมิอากาศ ฤดูคล้ายในยุโรป ฤดูหนาวอุณหภูมิ 5-12 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน 25-40 องศาเซลเซียส
เศรษฐกิจ การปกครอง สินค้าส่งออกได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พรม ผลไม้ ฯลฯ สินค้านำเข้าส่วนใหญ่ คือ เครื่องจักร เหล็ก เหล็กกล้า อาหาร ปศุสัตว์ และเคมีภัณฑ์
เมืองที่สำคัญทางธุรกิจ ได้แก่เมือง Mashhad, Esfahan, Tabriz และ Shiraz
ข้อควรรู้ อิหร่านยังมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดต่อการควบคุมคนต่างชาติที่เข้าเมืองแม้กระทั่งนักการทูต และมีข้อห้ามนำเข้าสินค้า/วัสดุต้องห้ามหลายอย่าง ซึ่งหากฝ่าฝืนจะได้รับโทษหนักโดยไม่มีข้อยกเว้น
สินค้าต้องห้าม
สุรา เบียร์ เครื่องดื่มใดๆที่มีแอลกอฮอล์ ยาหรือสารเสพติดทุกรูปแบบ รูปภาพ/สิ่งพิมพ์ที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งเนื้อหมูหรืออาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ อาวุธ กระสุนปืน วัตถุระเบิด วัฒนธรรมท้องถิ่น
หญิง - หากมีอายุ 12 ปีขึ้นไปเมื่อออกนอกบ้านต้องใช้ผ้าคลุมผม ชาย - เมื่อออกนอกบ้านห้ามนุ่งกางเกงขาสั้นเด็ดขาด หากเข้าใจภาษาท้องถิ่นจะช่วยให้มีชีวิตที่สะดวกราบรื่นยิ่งขึ้น เพราะคนท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษได้น้อย นอกจากจะเป็นข้าราชการระดับสูง หรือนักธุรกิจ อาหาร อาหารหลักของอิหร่านคือ คาบับ (Khabab) คือ เนื้อวัว/เนื้อแกะ/เนื้อไก่ ที่นำมาปิ้งเป็นอาหารรับประทานกับข้าวสวยหรือแผ่นแป้งบาง
เครื่องดื่ม การดื่มน้ำชาถือเป็นประเพณีที่ชาวอิหร่านยังคงรักษาไว้ถึงปัจจุบัน ร้านอาหารสถานที่จัดเลี้ยงหรือแม้แต่งานเลี้ยงรับรองตามสถานทูต ไม่มีการเสิร์ฟสุราใด ๆ
ยา หาซื้อได้สะดวกตามร้านขายยา ค่าตรวจทางการแพทย์และทันตแพทย์ราคาไม่แพง
การคมนาคม รถยนต์ส่วนใหญ่ในอิหร่านเป็นรถที่ผลิตในประเทศ
การขับรถ ใช้พวงมาลัยซ้าย ขับทางขวาแบบในยุโรปส่วนใหญ่ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการขับรถ การตรวจสภาพรถยังไม่มีการควบคุมที่ดีนัก
คนไทยในอิหร่าน กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือคนงานไทยที่มาทำงานในโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติที่เมืองอาซาลูเย่ห์ (Asaluyeh)ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอิหร่าน รองลงมาคือนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเมืองกุม (Qom) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเตหะราน
สถานที่พักผ่อน อิหร่านมีร้านอาหารไทยเพียงหนึ่งร้าน ตั้งอยู่ชั้นสองของบริเวณชอปปิ้งมอลล์ของโรงแรมเอสตรากัล ชาวอิหร่านนิยมไปพักผ่อนตามสวนสาธารณะ คนอิหร่านมีนิสัยรักธรรมชาติและพอใจที่จะเป็นมิตรกับคนต่างชาติ
โรงภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์อิหร่านแทบทั้งหมด ค่าเข้าชมสูงสุดประมาณ 25-30 บาท ปัจจุบันเริ่มมีการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีเสียงในฟิล์ม (อังกฤษ / ฝรั่งเศส) บ้างแล้ว
สถานที่เล่นกีฬา มีผู้ใช้บริการมากส่วนใหญ่เป็น Sports Complex ฟุตบอลก็เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก แต่สนามฟุตบอลจะมีแต่ผู้ชายเท่านั้น ที่เข้าชมได้
ข้อพึงระวัง
ไม่ควรรับฝากสิ่งของจากผู้อื่น เก็บรักษาหนังสือเดินทางไว้มิให้สูญหาย และควรมีสำเนาไว้อย่างน้อย 1 ชุด โดยควรมีสำเนาไว้อย่างน้อย 1 ชุด โดยควรรีบสำเนาหน้าหนังสือเดินทางที่มีการตรวจและประทับตราเข้าประเทศแล้วด้วย ในอิหร่านไม่มีการใช้เครดิตการ์ด
หากท่านจะอยู่อาศัยในประเทศอิหร่าน เป็นระยะเวลานาน โปรดแจ้งชื่อ และที่อยู่ ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ หรือให้ความช่วยเหลือในกรณีจำเป็น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน (Royal Thai Embassy) Baharestan Avenue, Esteghlal Alley, Park Amin-ed-Dowleh No.4 เวลาทำการ วันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. โทรศัพท์ (9821) 753 14 33, 753 77 08 โทรสาร 753 20 22
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2575 1046-51โทรสาร 0 2575 1052
|