เมืองหลวง กรุงบรัสเซลส์ ภาษา ภาษาราชการมี 3 ภาษา ฝรั่งเศส เฟลมมิช เยอรมัน ชุมชนเบลเยี่ยม แบ่งออกเป็น 3 ชุมชนตามภาษาที่ใช้ - Flemish หรือ Flanders (ใช้ภาษาเฟลมมิช) - Francophone หรือ Wallons (ใช้ภาษาฝรั่งเศส) - Brussels (ใช้ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเฟลมมิช) - German (ที่จังหวัด Eupen) การปกครอง สหพันธรัฐ มีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ พระราชาธิบดี King Albert ที่ 2 นายกรัฐมนตรี นาย Guy Verhofstadt สกุลเงิน ยูโร(อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโรเท่ากับ 50 บาท) พื้นที่ 30,528 ตร.กม. ประชากร 10 ล้านคน ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ยกเว้นบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งเป็นป่าเขาเรียกว่า Ardennes เวลา ฤดูร้อน ช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง ฤดูหนาว ช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง ภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของเบลเยี่ยมเป็นลักษณะเหมือนกับยุโรปทางตอนเหนือ ประกอบด้วย 4 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ฤดูใบไม้ร่วง เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม ฤดูใบไม้ผลิ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 5-30 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนใต้ของประเทศ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 30-39 องศาเซลเซียส มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี
เมืองสำคัญ เบลเยี่ยมถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางขององค์การระหว่างประะเทศ และศูนย์กลางการประชุม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ
กรุงบรัสเซลส์ ประกอบด้วย 19 เขต เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งเป็นที่ตั้งขององค์การระหว่างประเทศ อาทิ ประชาคมยุโรป องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติคเหนือ (นาโต) เป็นต้น มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน - เป็นเมืองที่ใช้สองภาษา (bilingual) แต่ในทางปฏิบัติ ภาษาฝรั่งเศสมักจะถูกใช้เป็นภาษาหลัก - เมืองสำคัญอื่นได้แก่ Antwerpen Liege และ Gent
การคมนาคม เบลเยี่ยมเป็นจุดศูนย์กลางของยุโรป มีเส้นทางติดต่อกับประเทศใหญ่ ๆ หลายประเทศ เส้นทางรถไฟ Eurostar ซึ่งสามารถเดินทางไปสหราชอาณาจักรได้อย่างรวดเร็วภายใน 2 ชั่วโมงครึ่ง ไปยังประเทศฝรั่งเศสโดยรถไฟ TGV 1 ชั่วโมง 20 นาที และรถไฟ Thalys ความเร็วสูงไปยังเมืองต่าง ๆ ในประเทศฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี
การเข้าเมือง คนไทยผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาต้องติดต่อขอรับตรวจลงตรา (วีซ่า) จากสถานเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยมประจำประเทศไทยก่อน สำหรับหนังสือเดินทางราชการและหนังสือเดินทางทูตซึ่งเดินทางไปราชการชั่วคราวไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา แต่สามารถอยู่ในเบลเยี่ยมได้เพียงไม่เกิน 90 วัน แต่ถ้าต้องการไปเยือนประเทศอื่นในกลุ่ม Schengen ต้องขอรับการตรวจลงตราประเภท Schengen Visa จากสถานเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยมด้วย
เบลเยี่ยมเป็น 1 ใน 10 ประเทศยุโรปที่ได้ลงนามในความตกลง Schengen (เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก อิตาลี สเปน โปรตุเกส ออสเตรีย และกรีซ) ซึ่งผู้ที่ได้รับการตรวจลงตราจากประเทศใดประเทศหนึ่งใน 10 ประเทศนี้สามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ อีก 9 ประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องขอรับการตรวจลงตราจากประเทศที่เหลือ แต่หากขอรับการตรวจลงตราจากประเทศใดก็ต้องเดินทางเข้าประเทศนั้น เป็นจุดแรก (First port of entry)
หน่วยราชการไทย
สำนักงานพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ (Office of Commercial Affairs) Avenue Franklin D.Roosevelt 188,1050 Brussels. โทรศัพท์ (322) 673-0060, 674-7310 โทรสาร (322) 673-4425, 674-7319
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ (Office of Agricultural Affairs) Avenue Franklin D. Roosevelt 184,1050 Brussels โทรศัพท์ (322) 660-6069, 672-7207 โทรสาร (322) 672-6437
สำนักงานที่ปรึกษาศุลกากร (Office of the Customs Counsellor) 89 Derve du Rembucher, 1170 Brussels โทรศัพท์ (322) 660-5853, 660-5759 โทรสาร (322) 675-2649
สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Office of Science and Technology) Boulevard du Souverain 412,1150 Brussels โทรศัพท์ (322) 675-0797 โทรสาร (322) 662-0858
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมือง Antwerp Frans Van Hombeechplein 10,Antwerpen(Berchem) โทรศัพท์ (32-4) 95 22 99 00โทรสาร (32-3) 218-7294
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ณ เมือง Liege Rue Cote d'Or 274 , 4000 Liege โทรศัพท์ (04) 252-2163 โทรสาร (04) 252-2475
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ประจำ Luxembourg 14,Rue Erasme,L-1468,Luxembourg โทรศัพท์ (352) 407 878 โทรสาร (352) 407 804
สำนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด Avenue de la Toison d' Or 21, 1050 Brussels โทรศัพท์ (02) 502-4744 โทรสาร (02) 502-6947
สมาคมมิตรภาพไทย-เฟลมมิช Galaestraat 15,8680 Koekelare,Belgium โทรศัพท์ (051) 582767 โทรสาร (051) 583078
วัดไทยธรรมมาราม เบลเยี่ยม (Wat Thai Dhammarrm) 71 Chaussee de Louvain 1410 Waterloo Belgium โทรศัพท์ (32-2) 385 2855 โทรสาร (32-2) 385 2856
วัดพุทธเสรี (Wat Buddhaseree) 14 laagland, 2200 Herentls, Belgium โทรศัพท์ (014) 237 161 โทรสาร (03) 644-2550
วัดพุทธแอนด์เวิร์ป (Wat Buddha Antwerp) 1A,Krommelei,2110 Wijnegem Antwerpen
โทรศัพท์ (32-3) 326-4577
วัดธัมมปทีป เมืองแมเคเลน เบลเยี่ยม (Wat Dhammapateep) Kouterdreef,37,B-2800 Mechelen,Belgium โทรศัพท์/โทรสาร (32-1) 529-0099
สมาคมร้านอาหารไทยในเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก 1120 Chausee de Waterloo 1180 Brussels
โทรศัพท์ (02) 374-4962 โทรสาร (02) 375-4468
มีร้านอาหารไทยในเบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์กประมาณ 40 ร้าน นอกจากนี้ยังมีซุปเปอร์มาเก็ตไทยในเมืองใหญ่ ๆ และซุปเปอร์มาเก็ตจีน ซึ่งสามารถหาซื้อผักสด ผลไม้ เครื่องปรุงอาหาร ของชำและของใช้ไทย ๆ จากร้านค้าดังกล่าวได้ ขอทราบรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่สมาคมฯ
ปัญหาที่คนไทยมักประสบเมื่อเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
ข้อมูลทั่วไป
ปัญหาทางด้านภาษา การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ไม่ประสงค์จะติดต่อประสานงานกับสถานทูตฯโดยไม่จำเป็น ไม่มีเอกสารสำคัญประจำตัวหรือหากมีก็หมดอายุใช้การไม่ได้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง และไม่ได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ไว้กับสถานทูตฯ เพื่อติดต่อได้ในยามจำเป็น
หากท่านจะอยู่อาศัยในประเทศเบลเยี่ยม เป็นระยะเวลานาน โปรดแจ้งชื่อ และที่อยู่ ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ หรือให้ความช่วยเหลือในกรณีจำเป็น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ 2 Square du Val de la Cambre, 1050 Brussels, โทรศัพท์ (322) 640 68 10 โทรสาร (322) 648 30 66 E-mail : thaibxl@thaiembassy.be เวลาทำการ ระหว่าง 09.30 - 12.30 น. และ 14.00 - 17.00 น. ฝ่ายกงสุล ระหว่าง 10.00 - 12.00 น. และ 14.00 - 15.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ และวันเสาร์ - อาทิตย์
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 981 7171 โทรสาร 575 1038
|